การเลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์

การเลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งในการเขียนโปรแกรม จะต้องดูจากลักษณะของงานที่ทำอยู่ ซึ่งแต่ละภาษา ก็เหมาะกับงานเฉพาะอย่าง ๆ เช่นภาษาในยุคที่ 3 บางภาษา ซึ่งสามารถแสดงลักษณะ งานที่เหมาะกับภาษาแต่ละภาษาได้ดังนี้

ภาษา

ลักษณะงานที่เหมาะสม

FORTRAN

งานทางด้านวิทยาศาสตร์

COBOL

งานทางด้านธุรกิจ

BASIC

งานการศึกษา งานธุรกิจ

Pascal

งานการศึกษา งานโปรแกรมระบบ งานวิทยาศาสตร์ งานธุรกิจ

C

งานโปรแกรมระบบ งานทั่วไป

 

ดังนั้นการสร้างโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ จึงควรพิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สมรรถนะของตัวแปลภาษา ดังนี้

  1. พิจารณาจากจุดเด่นประสิทธิภาพของคำสั่งงานของแต่ละภาษา เปรียบเทียบกับลักษณะงาน เช่น สร้างโปรแกรมระบบงานคำนวณทางวิศวกรรม อาจเลือกใช้ภาษาซี หรือภาษาปาสคาล
  2. พิจารณาลักษณะการประมวลผล เช่น ระบบงานต้องประมวลผลบนระบบเครือข่าย อาจเลือกใช้ภาษาวิชวลเบสิก ในรุ่นของโปรแกรม ที่มีคำสั่งควบคุมการทำงานได้
  3. พิจารณาคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ และรุ่นของระบบปฏิบัติการที่ใช้ควบคุม เพื่อเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ ที่สามารถใช้ร่วมกันกับระบบได้
  4. ควรเลือกภาษาที่ทีมงานพัฒนาระบบงานโปรแกรมมีความชำนาญอยู่แล้ว เพื่อไม่ต้องเสียเวลา เริ่มต้นศึกษาเรียนรู้ใหม่ หรือหากเป็นภาษาใหม่ ควรเป็นภาษาที่มีลักษณะใกล้เคียงกับความรู้เดิม
  5. ควรเลือกภาษาที่ลักษณะเป็นภาษาโครงสร้าง มีความยืดหยุ่นสูง เอื้ออำนวยความสะดวก ในการปรับปรุง พัฒนาระบบงานในอนาคต
  6. หากระบบงานต้องการระบบความปลอดภัย เรื่องการเข้าถึงข้อมูล ต้องคัดเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในเรื่องนี้ด้วย
  7. พิจารณางบประมาณ ใช้จัดหาภาษาคอมพิวเตอร์ ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องมาใช้งาน เพื่อป้องกันปัญหา ทางกฏหมาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะไม่ก่อปัญหาเมื่อขยาย พัฒนาระบบงานเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
  8. เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมใช้งานทั่วไป เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูล และป้องกันปัญหา ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และมีความเชื่อมั่นว่า จะมีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา หากเกิดปัญหาได้

สำหรับภาษาคอมพิวเตอร์ แต่ละภาษาก็มีข้อดี ข้อด้อยแต่ต่างกันไป ดังนี้

1. ภาษาเบสิก (BASIC : Beginner’s All-purpose Symbolic Instruction Code) เป็นภาษาในระยะเริ่มแรกที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในห้องปฏิบัติการของสถาบันการศึกษา เพื่อฝึกทักษะการเขียนรหัสคำสั่ง ควบคุมการทำงานของ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กคือ ไมโครคอมพิวเตอร์

ข้อดี คือรูปแบบคำสั่งใช้งานสั้น มีจำนวนคำสั่งไม่มาก กฎเกณฑ์การใช้คำสั่งน้อย ใช้ระยะเวลาศึกษาเรียนรู้สั้น เหมาะสมที่จะใช้ใน การเรียนการสอน เพื่อฝึกทักษะการเขียนรหัสคำสั่งควบคุมการทำงานของระบบ

ข้อจำกัด คือประสิทธิภาพของคำสั่งงานมีน้อย เป็นภาษาที่ไม่มีรูปแบบโครงสร้าง จึงไม่เหมาะสม ในการนำไปใช้สร้างโปรแกรมประยุกต์ เพื่ใช้งานในองค์กร

2. ภาษาโคบอล (COBOL : Common Business Oriented Language) เป็นภาษาในยุคแรกที่มีลักษณะโปรแกรมเชิงโครงสร้าง ช่วงต้นของภาษาได้รับการออกแบบรหัสคำสั่งเพื่อควบคุมการทำงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ประเภท เมนเฟรม และมินิคอมพิวเตอร์ ต่อมา จึงปรับรูปแบบคำสั่งให้ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ได้

ข้อดี คือให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการเขียนรหัสคำสั่งการควบคุมการทำงานไมโครคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะไปเขียนรหัสคำสั่งควบคุม คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในการทำงานจริง

ข้อจำกัด คือโครงสร้างภาษาที่มีส่วนประกอบของบรรทัดคำสั่งงานมาก รูปแบบรหัสคำสั่งมีความยาว จดจำคำสั่งได้ยาก ไม่เหมาะกับผู้เริ่มฝึกทักษะสร้างงานโปรแกรม

3. ภาษาปาสคาล (PASCAL) เป็นภาษาที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้เขียนรหัสคำสั่งควบคุมการทำงานไมโครคอมพิวเตอร์

ข้อดี คือแต่ละส่วนของโครงสร้างกำหนดหน้าที่การเขียนรหัสคำสั่งควบคุมงานชัดเจนคำสั่งสั้น สื่อความหมายดี จึงจดจำได้ง่าย ประสิทธิภาพคำสั่งงานมีเลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบ ใช้ระยะเวลาสั้นในการเรียนรู้ เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อฝึกการเขียนรหัสคำสั่งโปรแกรม

ข้อจำกัด คือประสิทธิภาพของคำสั่งไม่สามารถใช้ควบคุมการทำงานในลักษณะระบบงานแบบฐานข้อมูล หรือแบบเครื่อข่ายได้ แต่อาจใช้เป็นพื้นฐานความรู้สำหรับภาษาอื่นได้ เช่น ภาษาเดลไฟ (DELPHI) ที่คำสั่งงานคล้ายกับภาษาปาสคาล

4. ภาษาซี (C) เป็นภาษาที่มรูปแบบเป็นโครงสร้าง เน้นให้คำสั่งมีประสิทธิภาพการคำนวณที่รวดเร็ว เข้าถึงอุปกรณ์ในระบบร่วมกับภาษาแอสเซมบลีได้ ใช้ควบคุมการทำงานไมโครคอมพิวเตอร์

ข้อดี คือภาษาได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การออกแบบรหัสคำสั่งมีมาตรฐานร่วมกัน ถึงแม้จะเป็นภาษาซีต่างบริษัท ก็ใช้งานในส่วนคำสั่งพื้นฐานร่วมกันได้ ใช้ระยะเวลาสั้นในการเรียนรู้ จึงเหมาะสมนำไปใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอน และนำไปสร้างงานโปรแกรมในระบบงานขนาดใหญ่ได้

ข้อจำกัด คืออยู่ในส่วนของรุ่นภาษาซีมากกว่า เช่น เทอร์โบซีจะไม่สามารถนำไปสร้างระบบงานแบบฐานข้อมูลได้ แต่หากต้องการนำไปสร้างงานโปรแกรมแบบฐานข้อมูล ต้องใช้วิชวลซีพลัสพลัส (Visual C++) เป็นต้น

ที่มา  http://9phat56.wordpress.com/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B5/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95/

 

ใส่ความเห็น